ัดใหญ่ชัยมงคล

Wat Yai Chaimongkhon

 

 

วัดใหญ่ชัยมงคล วัดนี้เดิมพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตนมหาเถรในลังกาทวีป เรียกนามนิกายนี้ว่า "คณะป่าแก้ว" จึงได้นามว่า "วัดป่าแก้ว" ต่อมาคนทั้งหลายพากันเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์ นิกายนี้ก็เจริญแพร่หลาย

 

พระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน มีตำแหน่ง เป็นสังฆราชฝ่ายขวา คู่กับพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระรับตำแหน่งสังฆราชฝ่ายซ้าย และวัดนี้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชจึงได้ชื่อว่า "วัดเจ้าพญาไท" สำหรับพระอุโบสถของวัดนี้พระเทียรราชาเคยไปเสี่ยงเทียนอธิษฐานแข่งบารมีกับขุนวงศาธิราชก่อนที่จะได้ราชสมบัิติ  ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหาอุปราชาแห่งพม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2135 หมายจะปราบปรามเมืองไทยไว้ในอำนาจ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพออกไปต่อสู้ข้าศึก จนได้ชนช้างกับพระมหาอุปราชา ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีชัยชนะ ทรงฟันคู่ต่อสู้สิ้นพระชนม์บนคอช้าง แต่ครั้งนั้นไม่สามารถจะตีกองทัพของข้าศึกให้แตกแยกยับเยินไปได้ เนื่องจากกองทัพต่างๆ ติดตามไปไม่ทันพระองค์ ครั้งเมื่อเสร็จการสงครามแล้ว สมเด็จนเรศวรมหาราชจึงทรงพิโรธแม่ทัพนายกองเหล่านั้น จะให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไปไม่ทันเสียให้หมด สมเด็จพระวันรัตน วัดป่าแก้ว ถวายพระพร ขอพระราชทานโทษไว้ แล้วทูลแนะนำให้ทรงสร้างเจดีย์ไว้เป็นที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ที่ได้มีชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้ เจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นที่วัดนี้ขนานนามว่า พระเจดีย์ชัยมงคล ต่อมาจึงเรียกวัดนี้ว่า "วัดใหญ่ชัยมงคล"

 

พระเจดีย์ชัยมงคล

 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในคราวยุทธหัตถีมีชัยชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อ พ.ศ. 2135

  • เป็นปูชนียวัตถุสำคัญแห่งหนึ่งของชาติไทย
  • เป็นนิมิตหมายของเอกราช เตือนใจให้ระลึกถึงความกล้าหาญและความเสียสละของบรรพบุรุษ
  • เป็นสัญลักษณ์แห่งอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันเนื่องมาจากธรรมอันประเสริฐแห่งพระพุทธศาสนา

 


อ้างอิง : ป้ายประกาศภายในวัดใหญ่ชัยมงคล

 

 

 

 

  Wat Yai Chaimongkhon Initially, this monastery was constructed by King U-thong in 1900 B.E. to accommodate the monks that once were ordained from Phra Wanratana Mahathera Bureau in Ceylon.  This denomination is called "The Pakaew Group".  Thereby this monastery was named "Wat Pakaew".  Later on many people were faithful in this denomination.  Many of them were ordained the monks of this denomination so that Pakaew Group became prosperous rapidly during that time.

 

Phra Rachathibodi then appointed the director of this sect as the right-sided patriarch named "Phra Wanratana" while "Phra Putthakosajarn" held the position of the left-sided patriarch.  Since the patriarch stayed here, this monastery was named "Wat Chao Phayatai".  The ubosot of this monastery was the place where King Tianracha had prayed for the throne before he could beat Khun Worawongsathiraj, another candidate for the throne.  In 2135 B.E. in the reign of King Naresuan the Great, Phra Maha Uparacha of Burma marched his army to Ayuthaya in order to take control over the Thai Kingdom.  King Naresuan then marched his army to combat the invader.  They met at Nong Sarai, Suparn Buri district.  King Naresuan had a fight on elephant back with Phra Maha Uparacha.  King Naresuan was able to kill his rival but he could not destroy the enemies army because his soldiers were further behind.  King Naresuan was full of rage when he came back to Ayuthaya and wanted the commanders to be executed because they were unable to follow him.  However, Phra Wanratana of Wat Pakaew asked him for the death penalty and suggested him to build a Chedi to celebrate the victory instead.  King Naresuan the Great then decided to construct a large Chedi in this monastery named Phra Chedi Chaimongkhon.  This monastery became "Wat Yai Chaimongkhon" later on.

 

The Great Chedi Chaya Mongkhol

 

The Great Chedi Chaya Mongkhol was built by the command of King Naresuan the Great, to commemorate his decisive victory over the Burmese invasion in A.D. 1592.  The event was climaxed in the momentous elephant combat between the King and the Burmese crown prince Maha Uparaja, in the province of Suparnburi the renown of King Naresuan was such that there was no more outside invasion for the following two hundred years.

 

Thus, the Great Chedi serves as a symbol of prowess and sacrifice of the King and his soldiers, who with their national and religious devotion have brought about calm and peaceful assurance to the Thai people.

 

 


Ref.: Wat Yai Chaimongkhon's Sign Board

 

Wallpaper
 

 

 

Gallery
 

  

 

 

 
 
   

Copyright © 2004 SSSNS Universe

Hit Counter